Ft คือ ค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. ค่าไฟฟ้าฐาน
2. ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าค่า Ft
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
โครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานคานวณจากค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ก่อสร้างระบบสายส่ง ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และการซื้อ
ไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และจากประเทศเพื่อนบ้าน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ค่าใช้จ่ายระบบสายจาหน่ายและการค้า
ปลีกของการไฟฟ้าฝ่ายจาหน่าย (การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ภายใต้สมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลก
เปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการไฟฟ้าในระดับหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อให้อัตราค่าไฟฟ้าสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และลดผลกระทบของความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้า คณะ
รัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 ได้เห็นชอบให้มีการนาสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Automatic Adjustment
Mechanism) มาใช้ เพื่อให้การไฟฟ้าสามารถปรับค่าไฟฟ้าตามการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของการ
ไฟฟ้า โดยเริ่มให้มีการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่า Ft ตั้งแต่การเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ประจาเดือน
กันยายน 2535
ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่า Ft ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดของสูตรหลายครั้ง เพื่อให้มีความชัดเจนโปร่งใสมาก
ยิ่งขึ้น และเหมาะสมกับสภาวการณ์ของต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2548 ได้มีการปรับปรุงสูตร Ft โดยให้คงเหลือเฉพาะการ
เปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าเท่านั้น
ปัจจุบัน การปรับค่า Ft อยู่ภายใต้การพิจารณาของ >>> คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) <<<
สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft)
อัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เป็นส่วนที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือ
การควบคุมของผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า โดยจะมีการคำนวณการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ทุก 4 เดือน และ
เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกเดือน รายละเอียดการคำนวณ มีดังนี้
Ft = FACtG + Aft-1G |
โดย Ft คือ อัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
FACtG คือ ประมาณการค่าใช้จ่ายในเดือนที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าเฉลี่ย ณ เดือนพฤษภาคม 2554 – สิงหาคม 2554 (สตางค์/หน่วย) มี
รายละเอียดดังนี้ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ประกอบด้วย ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ น้ำมันเตาน้ำมันดีเซล ถ่านหินนำเข้า และอื่นๆค่า
ซื้อไฟฟ้า ประกอบด้วย ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน (IPPs/SPPs) และค่าซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (สาธารณรัฐประชาธิป
ไตยประชาชนลาว มาเลเซียและอื่นๆ) ทั้งในส่วนของค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payments) และค่าพลังงานไฟฟ้า
(Energy Payments) การส่งผ่านค่าใช้จ่ายตามนโยบายที่รัฐกำหนด ประกอบด้วย การส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตาม
มาตรา 97 (3) เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า มาตรา 97(4) เพื่อส่งเสริม
การใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และมาตรา 97(5)
เพื่อส่งเสริมสังคม และประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า รวมถึงการส่งผ่านส่วนเพิ่มราคารับซื้อ
ไฟฟ้าสำหรับโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
Aft-1G คือ ค่าสะสมที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างค่า Ft ที่คำนวณได้จริง กับค่า Ft ใช้เรียกเก็บของกิจการผลิตในเดือน t-1
(สตางค์/หน่วย)