การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
1.การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
สายไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติจะต้องมีฉนวนหุ้ม และมีการต่อสายอย่างถูกต้องและแข็งแรง เมื่อใช้ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานาน ฉนวนไฟฟ้าอาจชำรุดฉีกขาด รอยต่อหลวม หรือหลุดได้ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะจะเกิดกระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายลงดินอันตรายถึงเสียชีวิตได้ จึงควรป้องกันเบื้องต้น ดังนี้คือ
1.1 ตรวจดูฉนวน รอยต่อ ของสายไฟฟ้าก่อนใช้งาน
1.2 ใช้ไขควงขันรอยต่อสายไฟฟ้ากับอุปกรณ์ให้แน่นอยู่ในสภาพดีพร้อมที่จะใช้งาน
2.การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
การต่อสายดิน คือ การต่อสายไฟฟ้าขนาดที่เหมาะสมจากเปลือกโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นลงสู่ดิน เพื่อให้กระแสที่รั่วออกมาไหลลงสู่ดิน ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปลอดภัยจากการถูกกระแสไฟฟ้า
3.การต่อสายดินและต่ออุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
การเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วในระบบจำหน่ายไฟฟ้าทั่วไปนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้งาน ความเสื่อมของฉนวนตามอายุการใช้งานและอุบัติเหตุต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กระแสไฟฟ้ารั่ว และการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (short circuit) นั้น ไม่มีผู้ใดทราบล่วงหน้าได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้เป็นเครื่องบอกเหต ุต่าง ๆ ไว้ และทำการตัดวงจรไฟฟ้าก่อนที่จะเป็นอันตราย วิศวกรคิดวิธีป้องกันไฟฟ้ารั่วไว้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 คือ การต่อสายดิน
เมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินมีปริมาณมากพอ ทำให้เครื่องตัดวงจรทำงานตัดวงจรกระแสไฟฟ้าในวงจรนั้นออกไป ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้า
วิธีที่ 2 ใช้เครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
โดยอาศัยหลักการของการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในหม้อแปลงไฟฟ้าในสภาวะปกติกระแสไฟฟ้าไหลเข้า และไหลออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรเท่ากัน เส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในแกนเหล็กจากขดลวดปฐมภูมิทั้งสองขดเท่ากัน จึงหักล้างกันหมด กระแสไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิไม่มี เมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น สายไฟฟ้าทั้งสองมีกระแสไหลไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กในแกนเหล็กเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นในขดลวดทุติยภูมิส่งสัญญาณไปทำให้ตัดวงจรไฟฟ้าออก
- ผู้ประสบอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจะเกิดอาการสิ้นสติ (shock) ผู้ที่อยู่ข้างเคียงหรือผู้ที่พบเหตุการณ์จะต้องรีบช่วยเหลืออย่างถูกวิธี ดังนี้
1. ตัดวงจรกระแสไฟฟ้าออกโดยเร็ว
2. แยกผู้ป่วยออกด้วยการใช้ฉนวน เช่น สายยาง ผ้าแห้ง หรือกิ่งไม้แห้งคล้องดึงผู้ป่วยออกจากสายไฟ ห้ามใช้มือจับโดยเด็ดขาด ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจให้รีบช่วยหายใจด้วยการจับผู้ป่วยนอนราบไปกับพื้น ยกศีรษะให้หงายขึ้นเล็กน้อยบีบจมูก พร้อมเป่าลมเข้าปากเป็นระยะๆ โดยเป่าให้แรงและเร็ว ประมาณนาทีละ 10 ครั้ง จนเห็นทรวงอกกระเพื่อม ทำต่อไปเรื่อยๆแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ทำการพยาบาลโดยการให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ และนวดหัวใจด้วย